การจัดการปัญหาดินเปรี้ยวจัด |
|
..ความหมายของดิน |
|
..ลักษณะของดิน |
|
..สภาพปัญหาของดิน |
|
..การแจกกระจายพื้นที่ดิน |
|
..การใช้ประโยชน์พื้นที่ในปัจจุบัน |
|
..แนวทางการจัดการดิน |
|
|
ความหมายของดิน |
.........ดินเปรี้ยวจัด
หรือดินกรดกำมะถัน (acid sulfate soils) หมายถึงดินที่มีสารประกอบไพไรต์
(FeS2) เป็นองค์ประกอบ เมื่อผ่านกระบวนการออกซิเดชั่น จะทำให้เกิดกรดกำมะถัน
(H2SO4) ในชั้นดิน และฤทธิ์ของความเป็นกรดรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อการปลูกพืช
ดินชนิดนี้มักพบจาโรไซต์ [KFe3(SO4)2(OH)6] ลักษณะสีเหลืองฟางข้าวที่ชั้นใดชั้นหนึ่งในหน้าตัดดิน
เกิดในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลที่มีหรือเคยมีน้ำทะเล หรือมีน้ำกร่อยท่วมถึงในอดีต |
|
|
ลักษณะของดิน |
......... ดินเปรี้ยวจัด
มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวจัด พบสารสีเหลืองฟางข้าว หรือตะกอนน้ำทะเลที่มีองค์ประกอบของสารกำมะถันมากภายในความลึก
150 เซนติเมตรจากผิวดิน สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมขัง
มีต้นกกหรือกระถินทุ่งขึ้นอยู่ทั่วไป คุณภาพน้ำในบริเวณดังกล่าวใสมากและเป็นกรดจัดมาก
มักจะพบคราบสนิมเหล็กในดินและที่ผิวน้ำ เมื่อดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างและลึก
เมื่อขุดดินหรือยกร่องลึกจะพบสารสีเหลืองฟางข้าวกระจายอยู่ทั่วไป
หรือพบชั้นดินเลนเหนียวหรือร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ชั้นดินเลนนี้เมื่อแห้งมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมาก
มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (ค่า pH) ต่ำกว่า 4.5 ดินเปรี้ยวจัด
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
......... (1)
ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดกำมะถันตื้น พบชั้นดินที่มีสารจาโรไซต์ซึ่งมีสีเหลืองฟางข้าวหรือชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมากภายในความลึก
50 เซนติเมตรจากผิวดิน โดยทั่วไปชั้นดินบนมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ค่า (pH) ต่ำกว่า 4.0 มีเนื้อที่ 725,520 ไร่ พบในกลุ่มชุดดินที่
9 และ 10
......... (2)
ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดกำมะถัน ชั้นที่มีสารจาโรไซต์ซึ่งมีสีเหลืองฟางข้าว
หรือชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมาก ลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน
โดยทั่วไปชั้นดินบนมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (ค่า pH) ต่ำกว่า
4.5 มีเนื้อที่ 2,978,117 ไร่ พบในกลุ่มชุดดินที่ 11 และ 14
......... (3)
ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดกำมะถัน ชั้นที่มีจาโรไซต์ซึ่งมีสีเหลืองฟางข้าว
หรือชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมาก ลึก 100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน
โดยทั่วไปชั้นดินบนมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (ค่า pH) ต่ำกว่า
5.0 มีเนื้อที่ 1,861,710 ไร่ พบในกลุ่มชุดดินที่ 2 |
|
 |
|
|
|
|
สภาพปัญหาของดิน |
......... ดินเป็นกรดจัดมาก
มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (ค่า pH) ต่ำกว่า 4.5 มีความเป็นพิษของอะลูมินัม
เหล็ก แมงกานีส ซัลไฟด์ ขาดแคลนธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส พื้นที่ลุ่มต่ำ
น้ำท่วมขัง และโครงสร้างดินแน่นทึบ ทำดินมีการระบายน้ำเลว เนื้อดินเป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัด
เมื่อดินแห้งจะแข็งและแตกระแหง ทำให้ไถพรวนยาก |
|
 |
|
|
|
การแจกกระจายพื้นที่ดิน |
......... ดินเปรี้ยวจัดในประเทศไทย
มีเนื้อที่รวมประมาณ 5,565,347 ไร่ แบ่งออกเป็นภาคต่างๆ ดังต่อไปนี้
......... -
ภาคกลาง
3,185,877 ไร่
......... -
ภาคตะวันออก
888,934 ไร่
......... -
ภาคใต้ 1,490,536 ไร่ |
|
|
|
การใช้ประโยชน์พื้นที่ในปัจจุบัน |
|
..การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในการปลูกข้าว |
|
..การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในการปลูกผัก |
|
..การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น |
|
..การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในการทำการเกษตรแบบผสมผสาน |
|
การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในการปลูกข้าว |
......... พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการทำนาปลูกข้าว
โดยการปรับปรุงแก้ไขความเป็นกรดของดินด้วยวัสดุปูนอัตราตามความต้องการปูนของดิน
วัสดุปูนที่ใช้ในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่
ปูนมาร์ล ส่วนพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดภาคใต้ใช้หินปูนฝุ่น พื้นที่ที่ยกร่องปลูกไม้ผล
ไม้ยืนต้น ใช้ปูนโดโลไมต์ปรับปรุงแก้ไขความเป็นกรดจัดของดินก่อนปลูก |
|
การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในการปลูกผัก |
......... พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเป็นที่ลุ่มต่ำ
มักประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำนาปลูกข้าวไปปลูกผักนั้น
จำเป็นต้องขุดยกร่องแปลงปลูกให้สูงกว่าพื้นดินเดิม มีคันดินล้อมรอบพื้นที่เพื่อควบคุมน้ำและป้องกันน้ำท่วมแปลง
และมีการจัดการดินและน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของผักที่ปลูก |
|
การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น |
......... จากสภาพพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่ลุ่มต่ำ
และประสบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำนาปลูกข้าวไปปลูกไม้ผล
ไม้ยืนต้น จำเป็นต้องขุดยกร่องปลูกให้แปลงสูงกว่าพื้นที่ดินเดิม
มีคันดินล้อมรอบพื้นที่ เพื่อควบคุมน้ำและป้องกันน้ำท่วมพื้นที่
และมีการจัดการดินและน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของไม้ผลและไม้ยืนต้นที่ปลูก |
|
การใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในการทำการเกษตรแบบผสมผสาน |
......... จากสภาพปัญหาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
ซึ่งดินเป็นกรดจัดจนเป็นปัญหาต่อการปลูกพืช หากไม่มีการจัดการที่ถูกต้อง
พื้นที่ดังกล่าวไม่สามารถทำการเกษตรได้ การพัฒนาพื้นที่เพื่อปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง
อาจเกิดความเสี่ยงต่อการไม่ได้ผลผลิต เนื่องจากปัญหาของดิน ปัญหาของน้ำที่อาจขาดแคลนในช่วงแล้ง
หรือน้ำท่วมในฤดูฝน ในการแก้ไขปัญหาเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
ทำได้โดยวิธีการการทำไร่นาสวนผสมหรือทำเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เป็น
4 ส่วน (30 : 30 : 30 : 10) มีสระน้ำซึ่งสามารถเลี้ยงปลาได้ พื้นที่ทำนาข้าว
ยกร่องปลูกไม้ผล พืชผัก และเลี้ยงสัตว์ เช่นหมู เป็ด ไก่ เป็นต้น
หรือทำการเกษตรผสมผสาน ถ้ามีการบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม
เลือกปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง และมีการจัดการดูแลที่ดี ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ก็จะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
......... ในการปลูกพืชแบบผสมผสานนั้น
ต้องพิจารณาความเหมาะสมของดิน น้ำ และชนิดพืชที่ปลูก คือต้องเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูง
ราคาดี ปลูกและดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ลงทุนต่ำ โดยทำการปรับรูปแปลงนา
แบ่งเป็นพื้นที่สำหรับปลูกข้าวหลังเก็บเกี่ยวข้าวปลูกผัก ขุดคูรอบนาข้าว
เลี้ยงปลาในคูน้ำ ยกร่องปลูก ไม้ผล ไม้ยืนต้น เช่น กล้วย ไผ่ มะม่วง
มะละกอ ปลูกผักบนค้างระหว่างร่องน้ำ เป็นต้น
......... การทำเกษตรแบบผสมผสาน
ปลูกพืชหลากหลายชนิดทั้งพืชอายุสั้น อายุยาว พืชล้มลุก ไม้ยืนต้น
ผสมผสานกัน จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสม เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตจากพืชต่างๆ
ได้อย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากความเสียหายของพืชที่ปลูก
เกษตรกรสามารถมีรายได้สม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี และเกิดความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัด |
|
|
|
แนวทางการจัดการดิน |
|
..แนวทางการจัดการดินเปรี้ยวจัดในการปลูกข้าว |
|
..แนวทางการจัดการดินเปรี้ยวจัดในการปลูกผัก |
|
..แนวทางการจัดการดินเปรี้ยวจัดในการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น |
|
แนวทางการจัดการดินเปรี้ยวจัดในการปลูกข้าว |
.........1.
เริ่มต้นด้วยการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ เพื่อจะได้รู้ว่าดินเป็นกรดรุนแรงมากหรือน้อย
วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) หาค่าความต้องการปูนของดิน
วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เพื่อนำไปหาอัตราปุ๋ยที่ต้องใช้
ตามโปรแกรมคำแนะนำการใช้ปุ๋ยรายแปลง
.........2.
ใส่วัสดุปูนปรับปรุงดินตามอัตราที่กำหนด (ตามค่าความต้องการปูนของดิน)
โดยหว่านปูนกระจายทั่วพื้นที่ ไถคลุกเคล้ากับดิน หมักไว้อย่างน้อย
7 วัน ในสภาพดินชื้น เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาสะเทินกรดในดิน ความรุนแรงของกรดจะลดลง
(pH สูงขึ้น) การใช้วัสดุปูนทางการเกษตร แก้ความรุนแรงของกรดในดิน
จึงเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกและได้ผลรวดเร็วที่สุด
สำหรับอัตราปูนที่แนะนำให้ใช้นั้นแตกต่างไปตามระดับความรุนแรงของกรดในดิน
ดังนี้
............-
ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงน้อย pH ประมาณ 4.6-5.0 ใส่อัตรา
0.5 ตันต่อไร่
............-
ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงปานกลาง pH ประมาณ 4.0-4.4 ใส่อัตรา
1.0 ตันต่อไร่
............-
ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงมาก pH ต่ำกว่า 4.0 ใส่อัตรา 1.5-2.0
ตันต่อไร่ หรือตามค่าความต้องการปูนของดินที่วิเคราะห์ได้
ประโยชน์ของวัสดุปูน ลดความเป็นกรดจัดของดิน ดินมี pH สูงขึ้น
ตามปริมาณปูนที่ใส่มากขึ้น เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร
(ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) และลดความเป็นพิษของเหล็กและอะลูมินัม
เช่น ดินเปรี้ยวจัดชุดดินรังสิตกรดจัด มี pH 4.4 หลังใส่ปูนมาร์ลอัตรา
1,426 กิโลกรัมต่อไร่ ความรุนแรงของกรดลดลง ดินมีค่า pH สูงขึ้นเป็น
5.6 มีปริมาณอะลูมินัมลดลงเหลือ 0.5 me/100 gm soil จากเดิมมี
4.1 me/100 gm soil ปริมาณเหล็กลดลงจาก 9.3 me/100 gm soil เป็น
6.4 me/100 gm soil ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงขึ้น
.........3.
ปลูกพืชปุ๋ยสดตระกูลถั่วบำรุงดิน เช่น โสนอัฟริกัน ถั่วพุ่ม
ถั่วพร้า หรือปอเทือง โดยหว่านเมล็ดหลังปรับสภาพความเป็นกรดของดินแล้ว
แล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเมื่อเริ่มออกดอก (อายุประมาณ 55-60 วัน)
หมักไว้ประมาณ 10 วัน จึงเตรียมดินปลูกข้าว ปุ๋ยพืชสดที่ได้ให้ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมลงดิน (ตารางที่
1) ปริมาณธาตุอาหารที่ได้จะมากหรือน้อยขึ้นกับมวลชีวภาพของพืชปุ๋ยสดที่ได้
และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้บางส่วน

.........4.
ใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้ข้าวที่ปลูก ซึ่งมีหลายวิธีการ ดังนี้
............วิธีที่
1 ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราตามคำแนะนำจากค่าวิเคราะห์ดิน หรือใช้ปุ๋ยผสมสูตร
16-20-0 18-22-0 หรือ 20-20-0 สำหรับอัตราที่ใช้ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดินและพันธุ์ข้าวที่ปลูก
โดยทั่วไป มีคำแนะนำดังนี้
............1.1
ข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง เช่น พันธุ์ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 สุพรรณบุรี
1 ข้าว กข.ต่างๆ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยครั้งแรก คือ ปุ๋ยสูตร 16-20-0
อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปักดำหรือหลังหว่านข้าว 7-10 วัน
และครั้งที่ 2 ใส่ช่วงข้าวตั้งท้องด้วยปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่
คิดเป็นปริมาณไนโตรเจน 9.4 กิโลกรัม N ต่อไร่ และปริมาณฟอสฟอรัส
6 กิโลกรัม P2O5 ต่อไร่
............1.2
ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง เช่น พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ขาวตาแห้ง
เหลืองปะทิว 123 ฯลฯ แนะนำใส่ปุ๋ยครั้งแรก คือปุ๋ยสูตร 16-20-0
อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปักดำหรือหลังหว่านข้าว 7-10 วัน
และครั้งที่ 2 ใส่ช่วงข้าวตั้งท้องด้วยปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5-10
กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นปริมาณไนโตรเจน 6.3-8.6 กิโลกรัม N ต่อไร่
และปริมาณฟอสฟอรัส 5 กิโลกรัม P2O5 ต่อไร่
............วิธีที่
2 ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต 200 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับการใช้สารเร่งจุลินทรีย์ซุปเปอร์
พด.9 (ขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่) รองพื้นก่อนปลูกข้าวประมาณ
3 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่หลังปักดำข้าว
หรือหลังหว่านข้าว 7-10 วัน และครั้งที่ 2 ใส่ช่วงข้าวตั้งท้องด้วยปุ๋ยยูเรียอัตรา
10 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นปริมาณไนโตรเจน 9.2 กิโลกรัม N ต่อไร่
และปริมาณฟอสฟอรัส 6 กิโลกรัม P2O5 ต่อไร่
............วิธีที่
3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก หรืปุ๋ยคอก อาจใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี
หรือใช้เพียงอย่างเดียวก็ได้
............3.1
กรณีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ใช้ปุ๋ยหมัก 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่
หรืปุ๋ยคอก 200 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี 16-20-0 อัตรา
15 กิโลกรัมต่อไร่ก็เพียงพอ โดยคำนวณปริมาณธาตุอาหารที่ได้รับจากปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสด เมื่อทราบปริมาณธาตุอาหารที่ได้แล้ว ให้คำนวณปริมาณธาตุอาหารส่วนที่ยังไม่เพียงพอ
และใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติม เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน
ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีที่ใช้
............3.2
การใช้ปุ๋ยหมักอย่างเดียว แนะนำให้ใช้ 2 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วพื้นที่
แล้วไถกลบก่อนปลูกข้าว จะได้ธาตุอาหารโดยเฉลี่ยประกอบด้วยไนโตรเจน
15.4 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 7.2 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม
24.6 กิโลกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของข้าว โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี
อย่างไรก็ตามธาตุอาหารที่ได้จะแตกต่างกันไปตามชนิดของปุ๋ยหมักที่ใช้
(ตารางที่ 2)
............3.3
การใช้ปุ๋ยคอกอย่างเดียว แนะนำอัตรา 0.5 ตันต่อไร่ โดยหว่านให้ทั่วพื้นที่แล้วไถกลบก่อนปลูกข้าว
จะได้ธาตุอาหารโดยเฉลี่ย ประกอบด้วยไนโตรเจน 11.6 กิโลกรัมต่อไร่
ฟอสฟอรัส 17.35 กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 10.8 กิโลกรัม
ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของข้าวโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี อย่างไรก็ตามธาตุอาหารที่ได้จะแตกต่างกันไปตามชนิดของปุ๋ยคอกที่ใช้
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก
.........1.
ช่วยปรับสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินร่วนซุย การระบายอากาศดีขึ้น
การระบายน้ำของดินเหนียวดีขึ้น
.........2.
เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม
.........3.
เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ช่วยดูดยึดธาตุอาหาร ลดการสูญเสียจากการถูกชะล้าง
เนื่องจากเพิ่มพื้นที่ดูดซับประจุบวก และปลดปล่อยออกมาให้พืชใช้อย่างช้าๆ
.........4.
เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
............วิธีที่
4
ใส่ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ได้จากการขยายเชื้อสารเร่งจุลินทรีย์ซุปเปอร์
พด.12 กับปุ๋ยหมัก แล้วนำไปใส่ช่วงเตรียมดินตามอัตราที่กำหนด
คือ 300 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มปริมาณไนโตรเจนเฉลี่ย 3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
เพิ่มการละลายหินฟอสเฟตร้อยละ 15-45 เพิ่มการละลายของโพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ร้อยละ
10 และช่วยปลดปล่อยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่ถูกตรึงให้เป็นประโยชน์
สร้างฮอร์โมนกระตุ้นการงอกของเมล็ด ส่งเสริมการเจริญของระบบรากพืช
และการเจริญเติบโตของพืช ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ร้อยละ
25-30 และเพิ่มผลผลิตร้อยละ 10-15 วิธีการใส่ปุ๋ยมีหลายวิธี
ควรเลือกวิธีการที่ปฏิบัติได้ง่ายในพื้นที่นั้นๆ ลงทุนต่ำและเป็นวิธีการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด
การใส่ปุ๋ยทั้ง 4 วิธีการ จะได้ปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
และโพแทสเซียมผันแปรตามชนิดปุ๋ยที่ใช้ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของข้าวในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่สูงขึ้นคุ้มค่าต่อการลงทุน
.........5.
การใช้น้ำหมักชีวภาพที่เตรียมจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 น้ำหมักชีวภาพได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์
ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ที่มีลักษณะสดหรืออวบน้ำ โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่ต้องการอากาศ
(สารเร่งซุปเปอร์ พด.2) การใช้น้ำหมักชีวภาพให้มีประสิทธิภาพนั้น
ต้องใช้ควบคู่ไปกับการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ น้ำหมักชีวภาพช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
เร่งการเจริญเติบโตของรากพืช เพิ่มการขยายตัวของใบและยืดตัวของลำต้น
ส่งเสริมการออกดอกและติดผลของพืช
วิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพในนาข้าว
.........น้ำหมักชีวภาพที่เตรียมจากสารเร่งซุปเปอร์
พด.2 ใช้อัตรา 15 ลิตรต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 3 ครั้งๆ ละ 5 ลิตร
ใส่พร้อมปล่อยน้ำเข้านา หรือถ้าฉีดพ่นให้เจือจางกับน้ำสัดส่วน
1 : 500 หรือใช้น้ำหมักชีวภาพ 13 ช้อนโต๊ะ ในน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นช่วงข้าวอายุ
30 50 และ 60 วัน
.........6.
การคัดเลือกพันธุ์ข้าวแนะนำที่เหมาะสมปลูกในดินเปรี้ยวจัด
............ดินเปรี้ยวจัดที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วสามารถปลูกข้าวได้ทุกพันธุ์
การเลือกพันธุ์ข้าวมาปลูกนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆ
ด้านประกอบกัน ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ความต้องการบริโภคของประชากรในพื้นที่
ความต้องการของตลาดและราคาข้าวอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกข้าวไว้รับประทาน
และส่วนที่เหลือจำหน่ายให้โรงสี สำหรับพันธุ์ข้าวที่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดในภาคต่างๆ
มีดังนี้
............ภาคกลางและภาคตะวันออก
............-
พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ ข้าวจ้าวพันธุ์ กข.ต่างๆ ปทุมธานี
1 ปทุมธานี 60 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 พิษณุโลก
2 เป็นต้น
............-
พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 ข้าวหอมคลองหลวง
เก้ารวง 88 ขาวตาแห้ง 17 ขาวปากหม้อ 148 นางมลเอส-4 เหลืองปะทิว
123 เป็นต้น
............ภาคใต้
............-
พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ได้แก่ ปทุมธานี 1 ปทุมธานี 60 สุพรรณบุรี
60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 พิษณุโลก 2 เป็นต้น
............-
พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง แนะนำให้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่
พันธุ์ลูกแดงปัตตานี แก่นจันทร์ นางพญา 132 เล็บนกปัตตานี เฉี้ยงพัทลุง
กข 13 เผือกน้ำ 43 พวงไร่ 2 เป็นต้น
.........7.
การจัดน้ำในดินเปรี้ยวจัดเพื่อปลูกข้าว
............น้ำเป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการปลูกพืชทุกชนิด
โดยเฉพาะปลูกข้าวต้องมีน้ำขังในนาตลอดฤดูกาลปลูก ถ้าข้าวขาดน้ำในช่วงตั้งท้องเมล็ดข้าวจะลีบ
และได้ผลผลิตข้าวต่ำ นอกจากนั้นนาข้าวที่เป็นดินเปรี้ยวจัด ถ้าปล่อยน้ำขังในนาแล้วระบายน้ำออกเป็นระยะๆ
ทุก 4 สัปดาห์ เปลี่ยนน้ำใหม่เข้านา เป็นการล้างกรดและล้างสารพิษออกจากดิน
การมีน้ำขังในนาช่วยป้องกันการเกิดออกซิเดชันของไพไรต์ในดิน
ลดการเกิดกรดเพิ่มขึ้นในดินด้วย ข้าวที่ปลูกจะเจริญงอกงามและให้ผลผลิตสูง
ดังนั้นในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่อยู่ในเขตชลประทาน มีคลองส่งน้ำและมีน้ำใช้ตลอดปี
เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง ดินมีความชุ่มชื้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ทำให้ดินเปรี้ยวจัดที่ปรับปรุงด้วยวัสดุปูนมีความรุนแรงของกรดลดลงอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ประสิทธิภาพของปูนที่ใช้อยู่ได้นาน 4-5 ปี ช่วยลดปริมาณการใช้ปูนในครั้งต่อๆ
ไป เป็นการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง
............การจัดการน้ำในการปลูกข้าว
มีรายงานว่า ข้าวต้องการน้ำในการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตประมาณ
180-300 มิลลิเมตรต่อเดือน การปลูกข้าวแต่ละครั้งควรได้รับน้ำ
720-1,200 มิลลิเมตร ถ้าข้าวขาดน้ำในช่วงการพัฒนาช่อดอกจนถึงดอกบาน
จะมีผลกระทบรุนแรงต่อการให้ผลผลิต การขาดน้ำเพียง 15 วัน ผลผลิตเมล็ดข้าวจะลดลงในอัตรา
2 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ดังนั้นต้องควบคุมระดับน้ำในนาให้มีน้ำขังสูง
5-10 เซนติเมตรตลอดฤดูกาลปลูก และระบายน้ำออกก่อนถึงระยะเก็บเกี่ยวประมาณ
20 วัน
.........8.
การไถกลบตอซังข้าว หลังเก็บเกี่ยวข้าว ฟางข้าวและตอซังข้าว ควรทิ้งไว้ในพื้นที่นาของเกษตรกร
และทำการไถกลบเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินต่อไป วิธีการไถกลบ
มีดังนี้
............8.1
พื้นที่นาเขตชลประทาน ในเขตพื้นที่เขตชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง
2 ครั้งต่อปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ไม่ต้องเผาตอซังและฟางข้าว
ให้ไถกลบตอซังโดยปฏิบัติดังนี้
................1)
ผสมน้ำหมักจำนวน 3 ลิตรต่อไร่กับน้ำ 100 ลิตร เทน้ำหมักให้ไหลไปตามน้ำขณะที่เปิดน้ำเข้านาจนทั่วแปลงนา
หรือใช้รถบรรทุกสารละลายน้ำหมักสาดให้ทั่วแปลงนา ขณะเดียวกันใช้รถตีฟางย่ำฟางให้จมลงดิน
ปล่อยให้ย่อยสลาย 10 วัน
................2)
หลังจากหมักฟางเป็นเวลา 10 วัน ใส่น้ำหมัก 2 ลิตร ผสมกับน้ำ
100 ลิตร สาดให้ทั่วแปลงนาอีกครั้ง แล้วใช้รถไถตีฟางตามอีกครั้ง
หมักทิ้งไว้อีก 5 วัน
................3)
แล้วจึงทำเทือกเพื่อเตรียมหว่านหรือปักดำข้าวครั้งใหม่ต่อไป
............8.2
พื้นที่นาเขตเกษตรน้ำฝน เกษตรกรมีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักเพียงอย่างเดียวตลอดฤดูเพาะปลูกโดยอาศัยน้ำฝน
หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว ให้ทิ้งฟางข้าวและตอซังไว้ในพื้นที่ของเกษตรกร
เพื่อเป็นการคลุมผิวหน้าดิน จากนั้นเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนประมาณปลายเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคม
ให้ปฏิบัติดังนี้
................1)
ผสมน้ำหมักจำนวน 3 ลิตรต่อไร่ กับน้ำ 100 ลิตร เทน้ำหมักตามบริเวณคันนา
หรือสาดให้ทั่วสม่ำเสมอ แล้วใช้รถไถย่ำฟางให้จมดินหมักทิ้งไว้
10 วัน
................2)
หลังจากหมักฟาง 10 วัน ใส่น้ำหมัก 2 ลิตร ผสมกับน้ำ 100 ลิตร
ให้ทั่วแปลงนาแล้วใช้รถตีฟางตามไปด้วย ปล่อยให้ย่อยสลายอีก 5
วัน
................3)
แล้วจึงทำเทือกเตรียมดินพร้อมที่จะปลูกข้าวต่อไป
................4)
หรือหลังเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรสามารถปลูกพืชใช้น้ำน้อยบางชนิด
เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด และผัก เช่น แตงโม แตงกวา เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว
จึงไถกลบเพื่อรอเตรียมแปลงพร้อมที่จะปลูกข้าวต่อไป
ประโยชน์ของการไถกลบตอซังและฟางข้าว
.........1.
ช่วยในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินมีความโปร่งร่วนซุย
การถ่ายเทอากาศดีขึ้น และความหนาแน่นของดินลดลงด้วย
.........2.
เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดิน การไถกลบตอซังข้าวสามารถยกระดับของปริมาณอินทรียวัตถุในดินได้
.........3.
เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน มีรายงานว่าการไถกลบตอซังข้าวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
จะชวยลดความเป็นพิษที่เกิดจากเหล็กและแมงกานีสในดิน และตอซังข้าวที่ไถกลบเมื่อย่อยสลาย
จะปลดปล่อยธาตุอาหารลงดินให้ข้าวดูดไปใช้ได้ ปริมาณธาตุอาหารในตอซังข้าวเฉลี่ย
ประกอบด้วย ไนโตรเจน 0.55 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.09 เปอร์เซ็นต์
และโพแทสเซียม 2.39 เปอร์เซ็นต์
การจัดการดินนาเปรี้ยวจัดให้สามารถปลูกข้าวได้ผลผลิตสูง
.........ทำได้โดยบูรณาการวิธีการจัดการดิน
การจัดการน้ำ และจัดการพืชที่เหมาะสมเข้าด้วยกัน และปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ
ดังกล่าว ข้างต้น สามารถเพิ่มผลผลิตข้าว จากเดิมก่อนปรับปรุงได้ผลผลิตข้าวเพียง
200-300 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มเป็น 500-650 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกและระดับความรุนแรงของกรดในดินเปรี้ยวจัด
|
|
แนวทางการจัดการดินเปรี้ยวจัดในการปลูกผัก |
.........1.
เริ่มต้นด้วยการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ เพื่อที่จะได้รู้ว่าดินเป็นกรดรุนแรงมากหรือน้อย
วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) หาค่าความต้องการปูนของดิน
วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
.........2.
ขุดยกร่องแปลงปลูกผักให้สูงจากระดับดินเดิม 30-50 เซนติเมตร จากดินไว้
20 วันให้ดินสุก แล้วย่อยดินให้ละเอียด
.........3.
ปรับปรุงแก้ไขความเป็นกรดของดินด้วยวัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล ปูนขาว
อัตราตามความต้องการปูนของดินเพื่อปรับค่า pH ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของผักแต่ละชนิด
(ตารางที่ 3) โดยหว่านปูนให้ทั่วแปลง สับคลุกเคล้ากับดิน รดน้ำให้ดินชื้น
หมักทิ้งไว้ประมาณ 20 วัน ย่อยดินแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว (ถั่วพุ่ม
ปอเทือง) เพื่อสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสด
.........4.
ปรับปรุงเนื้อดินให้ร่วนซุย เพื่อให้ดินมีการระบายน้ำดี ด้วยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
อัตรา 2-4 ตันต่อไร่
.........5.
ใส่ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อสารเร่งซุปเปอร์พด. ไร่ละ 100 กิโลกรัม
ระหว่างแถวก่อนปลูกผัก ป้องกันโรคเน่าและเหี่ยวของพืชผัก
.........6.
เพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชผัก ซึ่งปริมาณธาตุอาหารที่ผักแต่ละชนิดต้องการจะแตกต่างกันไปตามประเภทของผัก
(ตารางที่ 3) นอกจากจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับปรุงดินแล้วจำเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยเคมีและฮอร์โมนที่ได้จากน้ำหมักชีวภาพที่เตรียมจากสารเร่งซุปเปอร์
พด. (ตารางที่ 5) เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผัก อัตราการใช้และวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับผักนั้นแตกต่างไปตามชนิดผักที่ปลูก
ดังนี้
............6.1
ผักที่ปลูกเพื่อรับประทานใบ ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า ผักกาดขาว และผักกาดเขียวปลี
แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 20-10-10 หรือปุ๋ยสูตรอื่นที่มีธาตุอาหารพืชใกล้เคียงกัน
อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆ กัน ครั้งแรกใส่ก่อนปลูก
1 วัน ครั้งที่ 2 ใส่หลังปลูก 20-25 วัน พร้อมกับใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา
20 กิโลกรัมต่อไร่
............6.2
ผักที่ปลูกเพื่อรับประทานผล ได้แก่ พริก มะเขือ มะเขือเทศ แตงต่างๆ
และถั่วฝักยาว สูตรปุ๋ยที่ใช้ 15-15-15 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่
โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆ กัน ครั้งแรกใส่หลังจากย้ายปลูก 5-7 วัน
ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อผักเริ่มออกหรือหลังย้ายกล้าปลูกแล้วประมาณ
30 วัน โดยใส่โรยสองข้างแถวผักแล้วกลบดิน สำหรับถั่วฝักยาวใช้สูตร
12-24-12 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้งเท่าๆ
กัน คือ ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก กลบดินแล้วหยอดเมล็ด ครั้งที่
2 ใส่เมื่อเริ่มออกดอกโดยโรยสองข้างแถวแล้วกลบดิน รดน้ำตาม
.........7.
การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพเป็นของเหลวที่ได้จากการหมักวัสดุอินทรีย์
เช่น พืช สัตว์ ที่มีลักษณะสดหรืออวบน้ำโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์
ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน ได้ฮอร์โมนหรือสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช
(ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน) วิตามิน กรดอะมิโน กรดฮิวมิค
และธาตุอาหารพืช (ตารางที่ 4 และ 5) น้ำหมักชีวภาพมีความเข้มข้นสูง
ดังนั้นการใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นให้กับผัก จำเป็นต้องเจือจางด้วยน้ำ
โดยใช้อัตราน้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตรเจือจางด้วยน้ำ 1,000 ลิตร แล้วฉีดพ่นหรือรดลงดินให้กับผักในพื้นที่ปลูก
10 ไร่ หรือน้ำหมักชีวภาพ 8 ช้อนโต๊ะ เจือจางด้วยน้ำ 4 ปี๊บ (80
ลิตร) ใช้ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ทั้งนี้แนะนำให้ใช้ทุก 10 วัน
ผักที่ปลูกจะเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูง |
|
แนวทางการจัดการดินเปรี้ยวจัดในการปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น |
.........1.
เริ่มต้นด้วยการเก็บตัวอย่างดินวิเคราะห์ เพื่อจะได้รู้ว่าดินกรดรุนแรงมากหรือน้อย
วัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) หาค่าความต้องการปูนของดิน
วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
.........2.
ทำการขุดยกร่อง โดยกำหนดความกว้างของดินส่วนที่เป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้
และความกว้างของร่องน้ำให้เหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก
............2.1
โดยทั่วไปจะกำหนดขนาดความกว้างของดินบนร่องปลูกประมาณ 6-8 เมตร
และขนาดร่องน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึกไม่เกิน 1.0 เมตร
............2.2
ปาดดินบนของส่วนที่เป็นร่องน้ำมากกองตรงกลางพื้นที่ที่เป็นสันร่องสำหรับปลูกต้นไม้
............2.3
ขุดดินล่างของส่วนที่เป็นร่องน้ำมาถมบริเวณข้างร่อง
............2.4
เกลี่ยดินบนที่นำมากองให้ทั่วบนสันร่อง
.........3.
ตากดินไว้ 15-20 วันให้ดินสุก แล้วย่อยดินให้ละเอียดต่อไป
.........4.
ปรับปรุงแก้ไขความเป็นกรดของดินด้วยวัสดุปูนโดโลไมต์ อัตราตามความต้องการปูนของดิน
หรือปริมาณ 2 ตันต่อไร่ เพื่อปรับค่า pH ให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม
โดยหว่านปูนทั่วพื้นที่แปลงปลูก หรือปรับปรุงเฉพาะหลุมปลูกก็ได้
(3-5 กิโลกรัมต่อหลุม) สับคลุกเคล้าปูนกับดิน รดน้ำพอชุ่ม หมักทิ้งไว้ประมาณ
20 วัน ย่อยดินแล้วปลูกพืชตระกูลถั่ว (ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า) เพื่อสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสด
.........5.
ปรับปรุงเนื้อดินให้ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ด้วยการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา
25 กิโลกรัมต่อหลุมก่อนปลูกไม้ผล ร่วมกับปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อสารเร่งซุปเปอร์
พด.3 หลุมละ 10 กิโลกรัม ก่อนปลูกพืช ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า
และใส่ปุ๋ยหมักหลังปลูกทุกปีๆ ละ 25-50 กิโลกรัม รอบแนวทรงพุ่ม
หรือทั่วพื้นที่ได้ทรงพุ่ม
.........6.
คลุมดินหลังปลูก เพื่อรักษาความชื้นในดินและป้องกันวัชพืชขึ้นด้วย
โดยทั่วไปเกษตรกรจะคลุมโคน ด้วยฟางข้าว ใบหญ้าแฝก หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว
เช่น ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม เพื่อสับกลบทำปุ๋ยพืชสด เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุลงดินด้วย
.........7.
เพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชที่ปลูก ไม้ผลเป็นพืชที่ต้องการปริมาณธาตุอาหารสูงเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต
ดังนั้นการปลูกไม้ผลในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จำเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช
โดยใช้อัตราคำแนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับการปลูกไม้ผลของกรมส่งเสริมการเกษตร
.........8.
การจัดการน้ำ ทำคูระบายน้ำออกจากพื้นที่การระบายน้ำออกจากพื้นที่เป็นครั้งคราว
ช่วยล้างกรดและสารพิษออกจากดิน ขุดคูระบายน้ำแยกส่วนกับคลองส่งน้ำ
ทำการบำบัดน้ำที่ปล่อยออกมาโดยการใส่ปูน นำน้ำที่มีคุณภาพดีจากคลองส่งน้ำปล่อยเข้าร่องสวน
การให้น้ำไม้ผล พิจารณาตามความเหมาะสมและความพร้อมของเกษตรกร มีหลายวิธี
เช่น ให้โดยใช้เรือพ่นน้ำ ใช้ระบบน้ำหยด หรือระบบสปริงเกลอร์ เป็นต้น
จะช่วยให้พืชที่ปลูกเจริญเติบโตได้ดี
.........นอกจากนั้นต้องควบคุมระดับน้ำใต้ดิน
โดยขังน้ำในร่องสวนตลอดเวลา ไม่ปล่อยให้น้ำในร่องสวนแห้ง หรือควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่สูงกว่าชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรต์
จะช่วยป้องกันการเกิดกรดเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วควรรักษาระดับน้ำใต้ดินไม่ให้ต่ำกว่า
1 เมตรจากผิวดิน ซึ่งจำเป็นต้องมีน้ำจากระบบชลประทานมาช่วยในการควบคุมน้ำใต้ดิน
.........9.
เลือกชนิดไม้ผล ไม้ยืนต้น ที่เหมาะสม พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขภาพความเป็นกรดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับการปลูกพืช
(pH 5.5-6.5) สามารถปลูกไม้ผลได้ทุกชนิด อย่างไรก็ตามการเลือกชนิดพืชที่เหมาะสม
เช่น มีความทนกรดได้ดีที่ระดับ pH 5.0-5.5 หรือเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว
สามารถให้ผลผลิตสูงได้ภายใต้การจัดการดิน น้ำ และธาตุอาหารพืชที่เหมาะสม
และเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการสูง จะช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้ดี
เช่น ส้มเขียวหวาน มะม่วง กล้วยหอม กระท้อน ละมุด มะพร้าว อ้อย
สับปะรด ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น สำหรับช่วงความเป็นกรด-ด่าง (pH)
ของดินที่เหมาะสม คำแนะนำการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นบางชนิด |
|
|
|
|
|