ตารางที่ 1 การจำแนกภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศที่ทำให้ฝนตกในประเทศไทยและฤดูกาล
การจำแนกภูมิอากาศ
ตามระบบ KOPPEN
ลมฟ้าอากาศที่ทำให้ฝนตกในประเทศไทย
ฤดูกาล
1. แบบร้อนชื้นสลับแห้ง หรือ แบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
“มีฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันจะแตกต่างกันอย่างเด่นชัด ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีฝนตกตลอดฤดู แต่ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาวอากาศแห้งแล้ง”
- ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ประเทศทั้งภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ตะวันตก ทางเหนือและตะวันตกของภาคตะวันออก

2. แบบมรสุมเขตร้อน (Am)
“ภูมิอากาศที่มีฝนตกชุก แต่จะมีอย่างน้อย 3 เดือน ที่มีฝนตกน้อยกว่า 62 มิลลิเมตร”
- ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ภาคตะวันออกบริเวณ จ. จันทบุรีและตราด
 


3. แบบป่าฝนร้อนชื้น (Af)
“ภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดปี ฝนตกมากกว่า 1,500 มม./ปี ไม่มีเดือนใดที่ฝนตกน้อยกว่า 62 มม.”


1. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
- พัดจากไซบีเรียผ่านจีน เย็นและแห้ง
- พัดผ่านทะเลจีนตอนใต้ และอ่าวไทย นำความชุ่มชื้นสู่ภาคใต้
- ฝนตก ภาคใต้
เดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์



2. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
- พัดจากมหาสมุทรอินเดีย ร้อน และ ชุ่มชื้น
- ฝนตก ภาคเหนือ อีสาน ภาคกลาง
เดือน มิถุนายน – กันยายน

3. ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำ หรือ แนวปะทะโซนร้อน
“ในช่วงเดือนมีนาคม – กรกฎาคม เคลื่อนที่จากทิศใต้ไปทิศเหนือ”
“เดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน เคลื่อนที่จากทิศเหนือลงมาใต้”

4. พายุหมุนโซนร้อน
มีถิ่นกำเนิดจากมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง จะได้น้ำฝนจากอิทธิพลของพายุ เดือนกรกฎาคม – กันยายน
ภาคใต้ จะได้น้ำฝนจากอิทธิพลของพายุเดือน ตุลาคม ถึงธันวาคม

1. ฤดูหนาว
เริ่มเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทยประมาณ เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
“ อากาศเย็นและแห้งแล้งจากประเทศจีนพัดมาจากทิศเหนือหรือ
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”



2. ฤดูร้อน
เริ่มเมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลง ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ กระแสลมจากทะเลทะเลจีนใต้เริ่มพัดเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศใต้ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรขึ้นไปทางซีกโลกเหนือ อากาศจะร้อนอบอ้าว
- เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
 

3. ฤดูฝน
เริ่มเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยประมาณกลางเดือน พฤษภาคม – กลางตุลาคม”


<<Back | Next>>