โครงการรณรงค์การปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติฯ |
(Top) |
|
|
จากสภาพปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดินและสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง และบางพื้นที่ประสบปัญหาการชะล้างพังทลายของดินอย่างรุนแรง
ดังนั้น จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในปีมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา
๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ขึ้น โดยแบ่งงานรณรงค์เป็น ๒ ช่วง คือ
ระหว่างวันที่ ๑ พฤษภาคม ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔ และวันที่ ๑๕ กรกฎาคม
๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในปีมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา
๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ และร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้ทรงเป็น พระบิดาแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยดำเนินการในพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ
เพื่อให้ข้าราชการ ประชาชน เกษตรกร นักเรียน อบต. หมอดินอาสา
หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน ได้รับทราบถึงวิธีการและขั้นตอนในการนำหญ้าแฝกไปใช้ประโยชน์
เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำและปรับปรุงสภาพแวดล้อม และรู้จักคุณประโยชน์ของหญ้าแฝก
โดยร่วมกันปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ต่างๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการใช้ระบบหญ้าแฝกจะช่วยลดต้นทุนในการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินให้น้อยลง
ขณะเดียวกันประสิทธิภาพในการดักตะกอนดิน ป้องกันดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลันได้ในระดับหนึ่ง
และความคงทนสามารถอยู่ได้นานหลายปี พร้อมเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมอีกด้วยตามความเหมาะสม |
|
|
|
|
หญ้าแฝก
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด
ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า
มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ ๑๒ ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย ๒ ชนิด
ได้แก่
 |
๑.
|
กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม
ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร ๒ ศรีลังกา สงขลา
๓ และพระราชทาน ฯลฯ |
๒. |
กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน
ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร
๑ นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น |
หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ
หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะแคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม
ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกัน
แน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีข้อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็ก
ดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน |
|
|
ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก |
(Top) |
|
|
การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ
ดังนี้
๑. |
มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ
เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง |
 |
๒. |
มีการแตกหน่อและใบใหม่
ไม่ต้องดูแลมาก |
๓. |
หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่
ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี |
๔. |
ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้ |
๕. |
มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย
แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย |
๖. |
ระบบรากยาว
สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ |
๗. |
บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ |
๘. |
ปรับตัวกับสภาพต่าง
ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป |
๙. |
ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน
ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ |
|
|
การขยายพันธุ์หญ้าแฝก |
(Top) |
|
|
การขยายแม่พันธุ์
คือ การนำแม่พันธุ์หญ้าแฝกที่มีลักษณะดีมาทำการขยายเพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน
ปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก
คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่
ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
๑.
|
การขยายแม่พันธุ์หญ้าแฝก |
|
๑.๑ |
การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่
เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่
โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้ การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอ
นำมาตัดใบให้เหลือความยาว ๒๐ เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง
๕ เซนติเมตร เป็นระยะเวลา ๕-๗ วัน รากจะแตกออกมาใหม่นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น
๕ เซนติเมตร และระหว่างแถว ๕๐ เซนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้นำอย่างสม่ำเสมอ
เมื่ออายุได้ ๑ เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ ต้นละ ๑ ช้อนชา
เมื่อถึงอายุ ๔-๖ เดือน ให้ขุดน้ำไปเพาะชำในถุงพลาสติก
หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือยสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป |
 |
|
๑.๒ |
การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่
โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ ๑ เมตร ยาวตามพื้นที่ใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี
เช่น ดินร่วนทราย และขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะหร้าว ในสัดส่วน
๑:๒:๑ การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง นำหน่อมาปักชำดูแล
จนกระทั่งอายุ 4 เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป |
๒. |
การขยายกล้าหญ้าแฝกสำหรับใช้ปลูก |
|
๒.๑ |
การเตรียมกล้าหญ้าแฝกในถุง
โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอตัดใบให้ยาว ๑๐ เซนติเมตร
นำมาล้างน้ำ มัดรวมกันวางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง
๕ เซนติเมตร ในที่ร่มเงา ๔ วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก
(๒x๖ นิ้ว) และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดีมีธาตุอาหารสมบูรณ์
ดูแลรดน้ำในสภาพเรือนเพาะชำ เมื่ออายุ ๔๕-๖๐ วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น |
 |
|
๒.๒ |
การเตรียมกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย
โดยการแยกหน่อจากกอ ตัดใบให้ยาว ๒๐ เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น
วางบนขุยมะหร้าวที่ชื้น หรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก จนกระทั่งรากงอกขึ้นมายาว
๑-๒ เซนติเมตร นานประมาณ ๕-๗ วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน
และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย ๑๕
วัน |
|
|
การเตรียมกล้าและดินเพื่อปลูกหญ้าแฝก
|
(Top) |
|
|
 |
๑. |
การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่ |
๒. |
การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝน
พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น |
๓. |
การเตรียมแนวร่องปลูก
โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัด ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่ |
๔. |
การใส่ปุ๋ยหมักรองกันหลุมในแนวร่องปลูก
เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน |
๕. |
การปลูกกล้าหญ้าแฝกในแปลงปลูก
โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก ๑๐ เซนติเมตร
หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก ๕ เซนติเมตร |
๖. |
ความห่างของแถวหญ้าแฝกแต่ละแถว
ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพื้นที่ปลูก โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่
แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง ๑.๕-๓ เมตร |
๗. |
กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ
เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น |
๘. |
ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง |
|
|
การดูแลรักษาหญ้าแฝก |
(Top) |
|
|
๑. |
การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ
กล้าหญ้าแฝกที่มีคุณภาพโดยทั่วไปเป็นกล้าที่มีอายุ ๔๕
ถึง ๖๐ วัน เมื่อนำกล้าที่แข็งแรงมาปลูกก็จะได้แนวรั้วหญ้าแฝก
ที่มีการเจริญเติบโตแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ |
 |
๒. |
การเลือกช่วงเวลาปลูก
การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝนจะเหมาะสมที่สุด สภาพของดินที่ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนจะมีความชุ่มชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า
๑๕ วันขึ้นไป |
๓. |
การตัดใบ
ในช่วงต้นฤดูฝนให้ตัดใบหญ้าแฝกให้สั้น สูงจากพื้นผิว ๕
เซนติเมตร เพื่อให้เกิดการแตกหน่อใหม่ และกำจัดหน่อแก่ที่แห้งตาย
ในช่วงกลางฤดูฝนให้เกี่ยวใบสูง ไม่ต่ำกว่า ๔๕ เซนติเมตร
เพื่อให้มีแนวกอที่หนาแน่นในการรับแรงปะทะของน้ำไหลบ่า
และในช่วงปลายฤดูฝน เกี่ยวใบให้สั้น ๕ เซนติเมตร อีกครั้งเพื่อให้หญ้าแฝกแตกใบเขียว
ในฤดูแล้ง |
๔. |
การดูแลรักษาตามความเหมาะสม
ในต้นฤดูฝนให้ใส่ปุ๋ยหมักตามแถวหญ้าแฝกก็จะเป็นการช่วยให้หญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตดีขึ้น
และกำจัดวัชพืชข้างแนวจะเป็นการช่วยให้สังเกตแนวหญ้าแฝกได้ชัดเจน
ช่วยให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันการไถแนวทิ้งเนื่องจากสังเกตไม่เห็น |
๕. |
การปลูกซ่อมและแยกหน่อแก่ออก
การปลูกซ่อมแซมในช่วงฤดูฝนจะทำให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่แข็งแรง
และควรตัดแยกหน่อแก่ที่ออกดอก หรือแห้งออกไป เพื่อจะให้หน่อใหม่ได้แทรกขึ้นมาได้อย่างเต็มที่ |
|
|
การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรม |
(Top) |
|
|
สำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ
ซึ่งประกอบด้วย
๑. |
การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน |
|
|
ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน
โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร
สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง
ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน ๒ เมตร หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน
๔-๖ เดือน |
 |
๒. |
การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ |
|
|
นำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอ
และแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ
เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน
ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ระยะห่างระหว่างต้น
๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง
และระหว่างแนวปลูกหญ้าแฝกไม่เกิน ๒ เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำ
ควรปลูกหญ้าแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง
เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก |
 |
๓. |
การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้ |
|
|
ควรปลูกหญ้าแฝกในสวนผลไม้
ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลงไม้ผล โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล
หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล ๒.๕ เมตร
เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ หญ้าแฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรีย์วัตถุในดินต่อไป |
 |
๔. |
การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ |
|
|
การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่
โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร
สำหรับกล้ารากเปลือย และ ๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกหญ้าแฝก
หรือปลูกหญ้าแฝกเป็นแนะระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้น
ในช่วงต้นฤดูฝน |
 |
๕. |
การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม |
|
|
ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม
ที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่
หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องหญ้าแฝก จะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย
และรักษาความชื้นในดินเอาไว้ |
 |
๖. |
การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน |
|
|
ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง
๑ แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก ๑-๒ แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ
ระยะห่างระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ
๑๐ เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป
ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น
เมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระ ตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวหญ้าแฝก
ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระ และระบบรากของหญ้าแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ
ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการพังทลาย |
 |
|
|
รูปแบบการปลูกหญ้าแฝกตามหลักวิชาการ |
(Top) |
|
|
เพื่อให้การดำเนินการปลูกหญ้าแฝกตามโครงการนี้มีรูปแบบที่ชัดเจน
จึงได้มีการกำหนดรูปแบบการปลูกที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้
ซึ่งประกอบด้วย
๑. |
การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ |
|
|
การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่
ถ้าใช้กล้าแบบรากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น ๕ เซนติเมตร
ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร
โดยปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับ ให้มีระยะห่างระหว่างแถว
ตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร ความยาวของแถวหญ้าแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่
และพื้นที่ว่างระหว่างแถวหญ้าแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก |
๒ |
สระน้ำปลูก
๒ แถว |
|
|
- |
แถวที่ ๑ ปลูกห่างขอบบ่อ
๕๐ เซนติเมตร จนรอบบ่อ |
|
|
- |
แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า
จนรอบบ่อ |
๓. |
อ่างเก็บน้ำปลูก
๓ แถว |
|
|
- |
แถวที่ ๑ ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง
ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ |
|
|
- |
แถวที่ ๒ ปลูกที่ระดับสูงกว่า
แถวที่ ๑ ตามแนวตั้ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคัน
หรือสันอ่างเก็บน้ำ |
|
|
- |
แถวที่ ๓ ปลูกที่ระดับต่ำกว่า
แถวที่ ๑ ตามแนวดิ่ง ๒๐ เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ |
๔. |
ปลูกริมคลองส่งน้ำ
๑ แถว ห่างขอบคลองส่ง ๓๐ เซนติเมตร |
๕. |
ปลูกบนร่องสวน
๑ แถว ห่างขอบแปลง ๓๐ เซนติเมตร |
๖. |
ปลูกอยู่บนไหล่ถนน
๑ แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง |
๗. |
ปลูกครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้ |
|
|
- |
ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด
๑ เมตร เป็นระยะทาง ๓ เมตร |
|
|
- |
ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด
๒ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร |
|
|
- |
ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด
๓ เมตร เป็นระยะทาง ๙ เมตร |
๘. |
ปลูกวงกลมล้อมต้นไม้ |
|
|
- |
ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด
๑ เมตร เป็นระยะทาง ๖ เมตร |
|
|
- |
ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด
๒ เมตร เป็นระยะทาง ๑๒ เมตร |
|
|
- |
ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด
๓ เมตร เป็นระยะทาง ๑๘ เมตร |
การปลูกหญ้าแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ต้นชิดติดกันเป็นแถว
ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น
๑๐ เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก ๕ เซนติเมตร |
|
|
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ |
(Top) |
|
|
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน |
|
กรมพัฒนาที่ดิน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โทร. ๐๒-๕๗๙-๑๕๖๕ โทรสาร.
๐๒-๕๗๙๑๕๖๕
E-mail : ord_๑@ldd.go.th |
|
|
|
|
|